วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2559

คำสอน
     หลักสำคัญของพุทธศาสนาคือการไม่มีตัวตนและวิธีมองโลกแบบไม่แบ่งแยกไม่ประเมินค่า การปล่อยให้วิถีชีวิตเป็นไปตามธรรมชาติ การอยู่กับปัจจุบันและชีวิตในโลกนี้ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะขัดเกลาจิตใจให้บรรลุพุทธภาวะ 
     พุทธภาวะหรือธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะนั้นมีอยู่แล้วในคนทุกคน สิ่งที่บดบังพุทธภาวะ คือ ความคิดปรุงแต่งซึ่งก่อให้เกิดตัวตน และความยึดมั่นถือมั่น หมกมุ่นอยู่ในความคิดที่ก่อให้เกิดการจำแนกสิ่งต่าง ๆ ออกเป็น 2 ฝ่าย เช่น ดี-ชั่ว ถูก-ผิด เมื่อเราขจัดความคิดปรุงแต่งออกไป ก็จะไม่มีตัวตนและความยึดติดทั้งหลาย มองเห็นเอกภาพของสรรพสิ่ง 
     จุดหมายคือ การบรรลุซาโตริ หรือภาวะรู้แจ้ง ซึ่งเป็นภาวะที่บุคคลสามารถทำลายอวิชชา ตัณหา อุปาทานแล้วกลับเข้าสู่พุทธภาวะ การมีประสบการณ์ซาโตริจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเราขจัดวิธีมองโลกแบบแบ่งแยกประเมินค่า การที่จะขจัดอวิชชาจะต้องมีจิตที่เป็นสมาธิ เมื่อจิตเป็นสมาธิ ปัญญาก็จะเกิด มโนทัศน์เรื่องการเกิด-การตาย สวย-ขี้เหร่ ดี-ชั่ว หรือ เรา-เขาก็จะหมดไป เลิกยึดถือว่ามีตัวตนในสรรพสิ่ง แล้วเราจะพบว่าทุกอย่างล้วนไร้ตัวตนที่จะเปรียบเทียบ เกิดประจักษ์รู้แจ้งในพุทธภาวะ

วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ประวัติผู้ให้กำเนิดนิกาย

ประวัติผู้ให้กำเนิดนิกาย


     พระโพธิธรรมเป็นสังฆราชแห่งนักบวชเซน ท่านเกิดเมื่อปีพุทธศักราช 440 ในเมืองกันจิ ท่านนับถือศาสนาพราหมณ์ตั้งแต่เกิด และเป็นพระราชบุตรองค์ที่ 3 ของพระเจ้าสิงหวรมัน ต่อมาท่านได้หันมานับถือพุทธศาสนา และได้รับการสอนธรรมะจากท่านปรัชญาตาระและแนะนำพระโพธิธรรมให้เดินทางไปประเทศจีน ท่านมาถึงจีนภาคใต้ ประมาณ พ.ศ. 520 และได้แสดงธรรมตามคำนิมนต์ของพระจักรพรรดิหวูแห่งราชวงศ์เหลียง ในการพบปะกันครั้งนี้ พระจักรพรรดิได้ตรัสถามถึงอานิสงส์ของการบำเพ็ญทานในพุทธศาสนาพระโพธิธรรมได้ตอบตามหลักคำสอนว่าด้วยความว่าง 
     พ.ศ. 496 มีการสร้างวัดเส้าหลินขึ้นติดกับภูเขา ซ่ง ที่จังหวัด โหหนาน 
     ที่ยอดเขาเฉาฉือ ด้านตะวันตกของภูเขาซ่ง ใกล้วัดเส้าหลิน พระโพธิธรรมได้นั่งบำเพ็ญกรรมฐานถึง 9 ปี 
     ไม่นานหลังจากท่านได้มอบตำแหน่งสังฆปรินายกแก่ทายาทของท่านคือฮุ้ยค้อ พระโพธิธรรมก็มรณภาพ ในปี พ.ศ. 528
     เหตุที่พระโพธิธรรมมีชื่อเสียงมากที่สุดในบรรดาพระที่สอนธรรมะในประเทศจีน เป็นเพราะ ท่านได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้นำเซนมาสู่ประเทศจีน คำสอนเรื่องเซนของพระโพธิธรรมต่างจากผู้อื่น ท่านเน้นความเป็นอิสระจากกฎเกณฑ์และคัมภีร์ต่างๆ สาวกสำคัญ
      
     

วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2559

Satori (悟り)

Satori
(悟り) 


         ซาโตริ เป็นคำภาษาญี่ปุ่น แปลว่าการรู้อย่างแจ่มแจ้ง หมายถึงภาวะแห่งการสำนึกรู้ถึงพุทธจิต เป็นการสำนึกรู้ถึงจิตสำนึกที่บริสุทธิ์ มองเข้าไปสู่ธรรมชาติที่แท้จริงของตนเอง ต่างกับความรู้ความเข้าใจที่เกิดเพราะกระบวนการทางปัญญาหรือกระบวนการทางตรรกะ 
        ซาโตริ หมายถึง ประสบการณ์แปลกใหม่ที่ไม่สามารถเข้าใจได้ด้วยจิตที่สับสนและแบ่งแยก เป็นการเข้าใจว่าจักรวาลนี้เป็นหนึ่งและทำลายตัวตนว่ามีตัวเองกำลังทำอะไรอยู่หรือกำลังคิดอะไรอยู่ได้ 
        การปฏิบัติเซ็นอย่างสมบูรณ์แบบ หมายถึงการใช้ชีวิตประจำวัน ตามธรรมชาติ ท่านโปเช็งนิยามคำว่าเซ็นว่า "เมื่อหิวก็กิน เมื่อง่วงก็ นอน" ข้อนี้พูดง่ายแต่ทำยาก การกลับสู่ธรรมชาติที่แท้จริงของเราใช้ เวลาฝึกยาวนาน พระเซนผู้มีชื่อเสียงรูปหนึ่งกล่าวว่า "ก่อนที่จะศึกษา เซน ภูเขาก็คือภูเขา และแม่น้ำก็คือแม่น้ำ ระหว่างที่ศึกษาเซน ภูเขา ไม่ใช่ภูเขา และแม่น้ำไม่ใช่แม่น้ำ แต่เมื่อได้รู้แจ้งแล้ว ภูเขาก็กลับเป็น ภูเขา และแม่น้ำก็กลับเป็นแม่น้ำอย่างเดิม" จุดเน้นของเซนเกี่ยวกับ ความเป็นธรรมชาติและการปล่อยให้ทุกสิ่งดำเนินไปตามธรรมชาตินี้ สะท้อนถึงแนวคิดของปรัชญาเต๋าอย่างชัดเจน

วันเสาร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2559

การปฏิบัติเซน

การปฏิบัติเซน
วิธีการปฏิบัติเซ็น แบ่งได้เป็น 3 ประการคือ
1. ซาเซน (zazen)
2. ซันเซน (Sanzen) หรือวิธีการแห่งโกอัน
3. ม็อนโด (Mondo)




1. ซาเซน หมายถึง การนั่งขัดสมาธิอย่างสงบและเพ่งสมาธิ เป็นการเพ่งความรู้สึกนึกคิดไว้กับอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง จนกระทั่งจิตสงบนิ่งแน่วแน่ จิตที่สงบจะพร้อมกับการตระหนักรู้ในความเป็นจริงของสรรพสิ่งซึ่งไร้ภาวะแบ่งแยก สิ่งต่าง ๆ ที่เรารับรู้นั้นถูกบิดเบือนจากความเป็นจริง และตัวการที่บิดเบือนความจริงนั้นก็คือความคิดของเราเองเมื่อปฏิบัติซาเซน เราปล่อยความคิดนั้นให้ผ่านไปอย่างเข้าใจ ไม่ใช่กำจัดสิ่งลวงตาทั้งหลายเหล่านั้น 

2. ซันเซน หรือ วิธีการแห่งโกอัน โกอัน แปลว่าเอกสารทั่วไป เอกสารในที่นี้ก็คือบันทึกการสนทนาระหว่างอาจารย์กับลูกศิษย์ อาจารย์จะให้ปริศนาธรรมกับลูกศิษย์เพื่อทำให้เกิดคำถามมากมายในหัวและพร้อมที่จะระเบิดออกมาหรือที่เรียกว่า ซาโตริ คำตอบนั้นไม่ตายตัวแตกต่างกันไปตามบุคคล อาจารย์จะเป็นคนดูว่าลูกศิษย์ใกล้จะบรรลุหรือยังเมื่อใกล้แล้วอาจารย์จะช่วยด้วยวิธีที่คาดไม่ถึง เช่นฟาดด้วยไม้ หรือ ตวาดใส่ 

3. ม็อนโด คือการถามและการตอบอย่างอย่างทันทีทันใด โดยไม่ใช้ระบบความคิดหรือเหตุผลไตร่ตรองว่าเป็นคำตอบที่ดีหรือไม่ อาจารย์จะเป็นผู้ตั้งคำถามและพิจารณาคำตอบที่ลูกศิษย์ตอบในขณะนั้น

วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2559

Zen (禅, ぜん)

Zen 
(禅, ぜん)



เป็นนิกายในศาสนาพุทธฝ่ายมหายาน นับถือกันอย่างแพร่หลายในแถบเอเชียตะวันออก (จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี) คำว่า เซน เป็นชื่อญี่ปุ่นของคำว่า ฉาน มาจากภาษาจีนที่อ่านว่า ธยาน และมาจากสันสกฤตอีกทอดนึง ซึ่งหมายถึงการเพ่ง เพ่งเพื่อให้จิตเข้าถึงตัวธรรมชาติตามธรรมชาติเดิมของจิต
เซนนั้นมีต้นกำหนิดมาจากอินเดีย และมาพัฒนาต่อที่ประเทศจีน และแพร่สู่ จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี, เวียดนาม โดยได้รับอิทธิผลมากจากลัทธิขงจื๊อและลัทธิเต๋า ในช่วงเวลาที่เผยแผ่มาสู่ญี่ปุ่น
       สัญลักษณ์ศาสนา คือ วงกลมลายเส้นพู่กันจีน เป็นสัญลักษณ์ของความว่าง

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ นิกาย เซน

       ประเภทของศาสนา อเทวนิยม (Atheism) ไม่มีการนับถือพระเจ้าไม่สอนให้เชื่อเรื่องพระเจ้าสร้างโลก ผู้ให้กำเนิดนิกาย คือ พระโพธิธรรม กำเนิดศาสนาเมื่อประมาณ พ.ศ. 520 สถานที่กำเนิดศาสนาคือ ประเทศจีน กำเนิดศาสนาเมื่อพระโพธิธรรมเดินทางมาถึงตอนใต้ของจีน